หลักสูตรและแนวการจัดการศึกษา

Curriculum & Approaches

ระดับปฐมวัย (อนุบาล)

โรงเรียนดุสิตวิทยาจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โดยมีแนวทางสำคัญสรุปได้ดังนี้

  • ออกแบบและจัดประสบการณ์ ให้เด็กได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติกิจกรรม ที่ส่งเสริมพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้านในแต่ละวัน

  • ออกแบบและจัดประสบการณ์ ให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อหาสาระที่เหมาะสมกับวัย ความสนใจของเด็ก และสอดคล้องกับชีวิตจริงของเด็ก

  • จัดประสบการณ์โดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ (Child-centered) คำนึงถึงความสนใจ และความแตกต่างระหว่างบุคคล

  • จัดประสบการณ์โดยนำแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิด (Thinking School Approach) มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

  • จัดให้มีสื่อและแหล่งเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้และการจัดประสบการณ์

  • ส่งเสริมและฝึกให้เด็กมีความพร้อมสำหรับการเชื่อมต่อไปยังระดับประถมศึกษาของโรงเรียนดุสิตวิทยา

  • ประเมินพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้การประเมินเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์

ตัวอย่างของการนำหลักการและแนวทางดังกล่าวไปใช้จริงในโรงเรียน

  • กิจกรรมประจำวัน

  • กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัย

  • หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ

  • การเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-based learning)

  • กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย

  • กิจกรรม Fun Find Focus

  • กิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ กิจกรรมกีฬาสี วันเด็ก วันวิชาการ ฯลฯ

  • การจัดการชั้นเรียนด้วยเทคนิค Full Attention, การใช้คำถามที่ส่งเสริมการคิดขั้นสูง ฯลฯ

ระดับประถมศึกษา

โรงเรียนดุสิตวิทยาจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา โดยมีแนวทางสำคัญสรุปได้ดังนี้

  • จัดทำหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) โดยกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียน ให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ และกำหนดสิ่งที่ผู้เรียนพึงเรียนรู้และปฏิบัติได้ ในมาตรฐานการเรียนรู้ทั้งหมดใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

  • ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และทักษะการคิดขั้นสูง ได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดสร้างสรรค์ และการสะท้อนคิด

  • ออกแบบและจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child-centered) เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตร โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย อาทิ กระบวนการปฏิบัติ ลงมือทำจริง (Active learning) กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้ของตนเอง กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย

  • จัดการเรียนรู้โดยนำแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิด (Thinking School Approach) มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับวัยและเนื้อหาที่เรียน

  • จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างรอบด้านตามศักยภาพ

  • จัดให้มีสื่อและแหล่งเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้

  • ส่งเสริมและฝึกให้ผู้เรียนมีความพร้อมสำหรับการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา

  • วัดและประเมินผลการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการประเมินเพื่อพัฒนา และการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน โดยใช้เทคนิคการประเมินที่หลากหลาย